top of page

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
กฎและมาตรฐานงาน ติดตั้งไฟฟ้าตามมาตรฐานวิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทยและมาตรฐานสากล

กฎเเละมาตรฐานไฟฟ้า

​ส

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้นำกฎการเดินสาย และติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า พ.ศ. 2538 ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และแนวปฏิบัติในการเดินสายและ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า พ.ศ. 2537 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มาพิจารณาเพื่อรวมเป็นมาตรฐาน เดียวกัน โดยได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้าทั้งสองหน่วยงานแล้วในปี พ.ศ. 2545 ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านวัสดุ อุปกรณ์และการติดตั้งได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิต สายไฟฟ้าที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 11 – 2553 ประกอบกับ มีข้อบกพร่องบางประการ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าเป็นมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 มีผลบังคับใช้เฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้าเท่านั้น ไม่ได้บังคับครอบคลุมการออกแบบ หรือติดตั้งของการไฟฟ้าฯ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยมีการอ้างอิงจากมาตรฐานสากลด้วย นั่นคือ NEC (National Electrical Code) ซึ่งทั่วโลกนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังมี มาตรฐานไฟฟ้าอื่น ๆ อีก เช่น ANSI (American National Standard Institute) DIN (Deutsches Institute Normung) IEC (International Electrotechnical Commission) และ JIS (Japan Industrial Standard) ในการทำงานเกี่ยวกับการติดตั้งไฟฟ้า จำเป็นที่จะต้องมีกฎและมาตรฐานทางไฟฟ้าเข้ามาควบคุม ซึ่งกฎ หมายถึง ข้อกำหนดที่บังคับให้ปฏิบัติตาม ส่วนคำว่ามาตรฐาน หมายถึง สิ่งที่ถือเป็นหลักสำหรับ เทียบกำหนด ดังนั้น กฎและมาตรฐานทางไฟฟ้าจึงหมายถึง ข้อกำหนดทางไฟฟ้าที่ถือปฏิบัติเป็นเวลานาน คนทั่วไปส่วนใหญ่ยอมรับได้ดี มีเหตุผลถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย

ระบบไฟฟ้ากำลังและระบบจำหน่ายไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้ากำลังโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

-ระบบการผลิตไฟฟ้า (Generating System)

-ระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า (Transmission System)

-ระะบบจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution System)

ระบบการผลิตไฟฟ้ากำลัง

คือ การผลิตไฟฟ้าจากโรงจักรกลไฟฟ้าหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่น โรงจักรใช้ถ่านหิน โรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ โรงจักรไอน้ำ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงจักรแบบกังหันแก๊ส เป็นต้น การพิจารณาว่าจะใช้โรงไฟฟ้าแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระดับราคา ทรัพยากร ธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปโรงไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะผลิตแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 11 kv ถึง 27 kv แล้วยกระดับแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นโดยผ่านหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังแล้วส่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าไป ตามสถานีไฟฟ้าย่อยต่าง ๆ โรงไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนดังนี้ 1. ระบบผลิตกระแสไฟฟ้า ประกอบด้วยตัวต้นกำลังหรือเครื่องกังหันไฟฟ้าทำหน้าที่เป็นตัวหมุน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งแรงดันไฟฟ้าที่ผลิตออกมาเป็นระบบแรงดันไฟฟ้า 3 เฟส มีขนาดแรงดันไฟฟ้า ไม่เกิน 20 kv เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล จังหวัดตากผลิตแรงดันไฟฟ้าได้เท่ากับ 13.80 kv เป็นต้น 2. ส่วนลานไกไฟฟ้า ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้าที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้สูงขึ้นเพื่อส่งต่อ ไปยังสถานีไฟฟ้าอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งส่วนลานไกไฟฟ้านี้ประกอบด้วยหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง (แปลงแรง ดันไฟฟ้าให้สูงขึ้น) และระบบป้องกันทางไฟฟ้า 3. ส่วนป้องกันการเดินเครื่องและการควบคุมไฟฟ้า ทำหน้าที่ควบคุมและป้องกันระบบไฟฟ้าไม่ ให้ทำงานผิดพลาด ส่งผลให้ระบบไฟฟ้าได้ทำงานดีมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ ได้แก่ รีเลย์ตรวจจับความผิดปกติทางไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้ากำลังและการป้องกันเครื่องกำเนิด ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการผลิตไฟฟ้ากำลังถูกกำหนดเป็นกิโลวัตต์ (Kilowatt, kW) หรือ เมกะวัตต์ (Megawatt, MW) ส่วนความสามารถในการผลิตไฟฟ้ากำลังที่ควบคู่ไปกับระยะเวลาในการ ผลิต เรียกว่า พลังงานไฟฟ้าที่ได้​

ระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า

ระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า เป็นระบบที่รับพลังงานไฟฟ้าที่ถูกยกระดับแรงดันไฟฟ้าต่อจากระบบผลิต ไฟฟ้ากำลัง สำหรับประเทศไทยจะมีระดับแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 69 kV ถึง 500 kV สามารถส่งพลังงานไฟฟ้า ไปที่ไกล ๆ ได้โดยรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ความมุ่งหมายหลักของระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า จะทำหน้าที่ส่งผ่านกำลังไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไปยังผู้ ใช้ไฟฟ้าหรือแหล่งจ่ายไฟฟ้า ส่งกำลังไฟฟ้าไปที่ศูนย์กลางการจ่ายภาระไฟฟ้า (Load) นอกจากนี้ยังเชื่อมโยง ระบบส่งกำลังไฟฟ้าเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความเชื่อถือได้ (Reliability) และลดความสูญเสียในระบบไฟฟ้าระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า มี 2 ระบบ คือ

-ระบบไฟฟ้าเหนือศีรษะ (Over Line System)

-ระบบไฟฟ้า ใต้ดิน (Under Ground Cable System)

ระบบไฟฟ้าเหนือศีรษะจะทำให้สายตัวนำอยู่บนเสาส่งผ่านที่โล่งแจ้งจากสถานีไฟฟ้าแห่งหนึ่งไปยัง สถานีไฟฟ้าอีกแห่งหนึ่ง ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าใต้ดินจะทำให้สายตัวนำถูกฝังลงไปในดินตามรางเดินสายและมีบ่อพักสายเป็นช่วง ๆ เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่ชุมชนที่แออัดและมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูง ส่วนการตรวจสอบและบำรุง รักษาระบบไฟฟ้ากระทำได้ยากและใช้งบประมาณมากด้วย ระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าประกอบด้วยสายส่งไฟฟ้าแรงสูงและสถานีเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้า ซึ่งระบบการ ส่งไฟฟ้าแรงสูงในประเทศไทยจะส่งด้วยแรงดันไฟฟ้า 2 ระดับ คือ ไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage) กับไฟฟ้า แรงสูงเอกซ์ตรา (Extra High Votage) ระบบไฟฟ้าแรงสูงเขียนตัวย่อ คือ HV ใช้แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 230 kV ส่วนไฟฟ้าแรงสูงเอกซ์ตราเขียน ตัวย่อ คือ EHV ซึ่งใช้แรงดันไฟฟ้าระหว่าง 230 kV ถึง 1,000 kV​

ระบบจำหน่ายไฟฟ้า

มี 2 ชนิด คือ ระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงสูงกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงต่ำ 1. ระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงสูง จากรูปที่ 1.2 แสดงระบบไฟฟ้ากำลังประกอบด้วยระบบการผลิตไฟฟ้า ระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า และระบบจำหน่ายไฟฟ้า พบว่า หม้อแปลงไฟฟ้าย่อยจะแปลงแรงดันไฟฟ้าให้ลดลงเหลือ 115 kV หรือ 69 kV ส่งผ่านเซอร์กิตเบรกเกอร์น้ำมัน แล้วแยกออกเป็นสายป้อนเป็นชุดเพื่อขึงไปตามถนน บนเสาโครงเหล็ก (เสาคอนกรีต) แล้วส่งกำลังไฟฟ้าดังกล่าวไปให้กับหม้อแปลงไฟฟ้าย่อยชุมชน

Call 

094-9789547

Email 

Follow

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

© 2023 by The Annex. Proudly created with Wix.com

  • Twitter
  • Facebook
  • Instagram
bottom of page