หน่วยที่ 2 สายไฟฟ้า
มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าทุกชนิด ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม (มอก.) หรือมาตรฐานที่การไฟฟ้าฯ ยอมรับ เช่น มาตรฐาน IEC, BS, ANSI, NEMA, DIN, VDE,
UL, JIS, AS เป็นต้น หรือเป็นชนิดที่ได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้าฯ ก่อน โดยมาตรฐานที่อ้างอิงให้ยึดถือ
ตามฉบับที่ปรับปรุงล่าสุด และสายไฟฟ้าที่ผลิตตาม มอก. 11–2531 ยังมีใช้อยู่จึงควรศึกษาด้วย
ประเทศไทยได้ปรับปรุงมาตรฐานสายไฟฟ้าใหม่ ตามมาตรฐาน IEC เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้
อุปกรณ์ตามมาตรฐาน IEC มากขึ้น จึงได้ดําเนินการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสําหรับประเทศไทย
โดยสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์หรือเรียกว่า “วสท.” ให้เป็นไปตาม
มาตรฐาน IEC 60227 คือ มาตรฐานสายไฟฟ้าตาม มอก. 11–2553 เป็นมาตรฐานบังคับตั้งแต่วันที่ 2
พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ตามมาตรฐาน วสท. นั้น การติดตั้งที่ออกแบบใช้สายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11–2531 แต่สายไฟฟ้า
ที่นํามาใช้เป็นสายที่ผลิตตาม มอก. 11–2553 อนุญาตให้ใช้ขนาดกระแสของสายตามตารางในมาตรฐาน วสท.
พ.ศ. 2545 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2551) ได้และการออกแบบใช้สายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก.11–2553
แต่ในการติดตั้งอาจมีสายที่ผลิตตาม มอก. 11–2531 รวมอยู่ด้วย อนุญาตให้ใช้ขนาดกระแสของสายตามตาราง
ในมาตรฐาน วสท. พ.ศ. 2556 ได้
2.1 มาตรฐานไฟฟ้าตามมอก 11-2531
2.1.1 ข้อกําหนดสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน วสท. พ.ศ. 2545 (EIT Standard 2001–45)
1. สายไฟฟ้าหุ้มฉนวน
(1) สายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซีเป็นไปตาม มอก. 11–2531
(2) สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมหุ้มฉนวนพีวีซีเป็นไปตาม มอก. 293–2541
หมายเหตุ การไฟฟ้านครหลวงห้ามใช้ในระบบสายแรงต่ําภายใน
(3) สายไฟฟ้าตามมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
2. สายไฟฟ้าเปลือย
(1) สายไฟฟ้าทองแดงรีดแข็ง สําหรับสายไฟฟ้าเหนือดิน เป็นไปตาม มอก. 64–2517
(2) สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมตีเกลียวเปลือย เป็นไปตาม มอก. 85–2523
(3) สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมตีเกลียวเปลือยแกนเหล็ก เป็นไปตาม มอก. 86–2523
24
2.1.2 การกําหนดสีของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวน ระบบแรงต่ํา
ระบบแรงต่ํา (Low Voltage System) หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างเฟส (Phase to
Phase) ไม่เกิน 1,000 โวลต์หรือแรงดันเทียบดินไม่เกิน 600 โวลต์การกําหนดสีตามมาตรฐาน วสท. พ.ศ.
2545 (EIT Standard 2001–45) ดังนี้
1. ตัวนํานิวทรัล ใช้สีเทาอ่อนหรือสีขาว
2. สายเส้นไฟ ต้องใช้สายที่มีสีต่างไปจากตัวนํานิวทรัลและตัวนําสําหรับต่อลงดิน สีของสาย–
ไฟฟ้าในระบบไฟฟ้า 3 เฟส ให้ใช้สายที่มีสีฉนวนหรือทําเครื่องหมายเป็นสีดํา สีแดง และสีน้ําเงิน สําหรับเฟส 1,
2 และ 3 ตามลําดับ
3. สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าใช้สีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลืองหรือเป็นสายเปลือย
ข้อยกเว้นที่ 1 สายไฟฟ้าที่มีขนาดโตกว่า 16 ตร.มม. ให้ทําเครื่องหมายแทนการกําหนดสีที่
ปลายสาย
ข้อยกเว้นที่ 2 สายออกจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าถงบร ึ ิภณฑั ์ประธาน (สายประธานเข้าอาคาร)
2.1.3 ขนาดกระแสของสายไฟฟ้า
ขนาดกระแสของสายไฟฟ้า กล่าวถึงเฉพาะสายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซีและสายไฟฟ้า
ทองแดงหุ้มฉนวนครอสลิงกด์พอลิเอทิลีน ในระบบแรงดันต่ํา ดังนี้
ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซี (Polyvinyl Chloride: PVC) ที่ผลิตตาม
มาตรฐานของสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ มอก. 11–2531 ตามตารางที่ 2.1 และ 2.2
ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนครอสลิงกด์พอลิเอทิลีน (Cross-Linked
Polyethylene: XLPE) ระบบแรงดัน 600 โวลต์