หน่วยที่ 4 งานระบบไฟฟ้าในอาคาร
การเดินสายไฟฟ้าในอาคารและในโรงงาน การเดินสายไฟฟ้าในอาคารหมายถึงการติดตั้งอุปกรณ์และเดินสายไฟฟ้าภายในตัวอาคารเริ่มตั่งแต่แผง จ่ายไฟรวมเรื่อยมาถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัว ได้แก่ การเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสายการเดินสายไฟฟ้า ในท่อร้อย สาย เป็นต้น ส าหรับการติดตั้งในโรงงาน ส่วนใหญ่จะเดินสายในท่อร้อยสาย รางเดินสาย (wire way) แล ะรางเคเบิล (cable tray) เป็นต้น
การเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย
โดยทั่วไปจะใช้สายแบนแกนคู่หรือที่เรียกว่าสาย VAF มีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น สามารถดัดโค้งงอและ ยืดหยุ่นได้ดีอายุการใช้งานยาวนานเกิน 10 ปีการเดินสายไฟฟ้านี้ไม่เหมาะที่ จะใช้ติดตั้งภายนอก อาคาร เนื่องจากแสงแดดจะท าให้ฉนวนเสื่อมคุณภาพก่อนเวลาอันควร เมื่อฝนตก จะท าให้ลัดวงจร ข้อดีการเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย
1. ติดตั้งง่ายรวดเร็ว
2. ซ่อมแซมหรือแก้ไขได้ง่าย
3. ค่าแรงงานถูก รายละเอียดการเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย สรุปได้ดังนี้
1. สายไฟฟ้า จะต้องรู้ขนาดของสายไฟฟ้า (บอกเป็นตารางมิลลิเมตร (มม.)2) และจ านวนสายกี่ เส้น ถ้าหากใช้สายเล็กเกินไป จะท าให้สายร้อนจนฉนวนละลาย
2. เข็มขัดรัดสาย เมื่อทราบขนาดและจ านวนสายไฟฟ้าที่จะเดินไปยังจุดต่างๆ ช่างเดินสายไฟฟ้า จะต้องเลือกเข็มขัดรัดสายให้พอดีเพื่อความรวดเร็วขณะปฏิบัติงาน เมื่องานเสร็จสมบูรณ์จะมองดูสวยงาม มีหลัก ปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้
2.1 กรณีเดินสายเส้นเดียว ควรเลือกขนาดเข็มรัดสายให้พอดีกับขนาดของสายไฟฟ้า
2.2 กรณีเดินสายตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไป เช่นสายจำนวน 3 หรือ 4 เส้น ถ้าหากสามารถรัดด้วยเข็ม ขัดรัดสายเพียงตัวเดียวจะท าให้ปฏิบัติงานให้เร็วขึ้น แต่ควรพิจารณาถึงความแข็งแรงในการยึดระหว่างสายไฟกับ ผนังอาคาร
3. ตะปูอาคาร ที่เป็นไม้จะใช้ตะปูขนาด 1/2 นิ้ว ส่วนอาคารคอนกรีตฉาบปูนจะใช้ขนาด 5/16 นิ้ว หรือ 3/8 นิ้ว โดยทั่วไปช่างเดินสายไฟฟ้าจะท ากล่องไม้ส าหรับจัดเก็บตะปู เข็มขัดรัดสาย
การเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย
ในบริเวณที่สายไฟฟ้าอาจจะถูกกระทบกระแทกมีความชื้น สารเคมีหรือมีความเป็นกรด
เช่น ภายในโรงงานอุตสาหกรรม อาคารขนาดใหญ่ จะนิยมการเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสายเนื่องจากมีความปลอดภัยเมื่อเกิดประกายไฟ หรือเกิดการอาร์ค นอกจากนี้ยังใช้ท่อโลหะเป็นตัวน าในการต่อลงดินอีกด้วย แต่ต้องมั่นใจว่ารอยต่อต่าง ๆ มีความต่อเนื่อง มั่นคงและแข็งแรง
1. วิธีการเดินสายในท่อ วิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายอย่างดังนี้
1.1 เดินในท่อโลหะหนา ท่อโลหะหนาปานกลางและท่อโลหะบาง ผลิตจากเหล็กอาบสังกะสี
ยาวท่อนละ 3 เมตร ท่อโลหะหนาและท่อโลหะหนาปานกลางสามารถทำเกลียวได้ ใช้งานทดแทนกัน
ได้ นอกจากนี้ยังใช้ฝังดินได้อีกด้วย
1.2 เดินในท่อโลหะอ่อน หรือที่เรียกว่าท่อเฟล็กซิเบิล (flexible metal conduit) มีลักษณะเป็นแกนโลหะอ่อน พันซ้อนทับกัน นิยมใช้ในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือน เช่นเชื่อมต่อระหว่างรางเดินสายกับ เครื่องจักร แต่ห้ามใช้ฝังดิน
1.3 เดินในท่อโลหะอ่อนกันของเหลว หรือที่เรียกว่าท่อเอ็มเฟล็ก (MFLEX) ประกอบด้วยโลหะ ขึ้นรูป ขัดกันเป็นเกลียว มีเชือกคั่นระหว่างร่องโดยมีฉนวนพีวีซีห่อหุ้ม เพื่อป้องกันการรั่วของสายไฟฟ้า
1.4 เดินในท่ออโลหะแข็ง ที่ใช้งานทั่วไปได้แก่ท่อพีวีซีและ พีอีท่อพีวีซีไม่คงทนต่อแสงอุลตร้า ไวโอเลต ดังนั้นเมื่อตากแดดเป็นระยะเวลานานจะกรอบและแตกเป็นขุย ส่วนท่อพีอีจะติดไฟง่าย ดังนั้นท่อชนิดนี้ จึงเหมาะส าหรับติดตั้งในที่โล่ง เดินซ่อนในผนัง พื้นหรือเพดาน
2. วิธีการดัดท่อ เครื่องมือดัดท่อหรือที่เรียกว่าเบนเดอร์(bender) แต่ละชนิดเหมาะส าหรับท่อแต่ละ ประเภทดังนี้ ท่อโลหะบาง จะใช้EMT. Bender ท่อโลหะหนาปานกลาง จะใช้ IMC. Hickey ท่อโลหะหนา จะใช้ rigid bender หรือที่ดัดท่อไฮดรอลิกส์ อย่างไรก็ตามควรจะเลือกขนาด bender ให้พอดีกับขนาดของท่อร้อยสายไฟฟ้า ถ้าหากใช้ bender ขนาดใหญ่เกินไป อาจจะท าให้ท่อแบน ส่งผลให้พื้นที่หน้าตัดภายในท่อลดลง ท าให้การร้อยสายท าได้ ล าบาก ดังนั้นการดัดท่อจะต้องระมัดระวังไม่ให้ท่อเสียรูปทรง เส้นผ่านศูนย์กลางภายในท่อจะต้องเท่าเดิมหรือ ลดลงน้อยที่สุด องค์ประกอบที่ส าคัญอีกอย่างหนึ่งคือรัศมีความโค้ง โดยจะวัดจากจุดศูนย์กลางความโค้งถึงขอบ ด้านในของท่อที่โค้ง โดยทั่วๆ ไปรัศมีความโค้งของท่อที่ดัดจะต้อง ไม่ต่ ากว่า 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของ ท่อ ส าหรับงานภาคสนามส่วนใหญ่จะมีค่าประมาณ 6-8 เท่า หรือมากกว่า รัศมีความโค้งของท่อขนาดต่าง ๆ